ไก่ชน ไก่พื้นเมืองไทย สายพันธุ์นักสู้ เผยวิธีการเลี้ยง

บทความนี้มาว่าด้วยเรื่องของไก่กันค่ะ ไก่ที่คนไทยรู้จักนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่น ไก่แจ้ ไก่อู เป็นต้น “การชนไก่” นั้น เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย ในประเทศไทยไก่ชนเป็นที่นิยมเล่นกันในบริเวณภาคกลางและภาคใต้ คุณทราบหรือไม่ ? ว่าไก่ชนนั้นต้องได้รับการคัดเลือก และผ่านการฝึกให้ต่อสู้กับไก่ตัวอื่นได้ หากคุณอยากจะเลี้ยงไก่ชนคุณต้องศึกษาวิธีการเลี้ยง การฝึกฝนให้เผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ รวมถึงรักษาอาการบาดเจ็บจากการต่อสู้ของไก่ชนได้ด้วย ถ้าหากคุณพร้อมแล้ว มาดูประวัติความเป็นมาของไก่ชนกันก่อนดีกว่าค่ะ

ประวัติและถิ่นกำเนิดของไก่ชน 
การกำเนิดของการละเล่นหรือการแข่งขันไก่ชนนั้นในยุโรปมีมาตั้งแต่ยุคโรมันมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนการแข่งขันไก่ชนในประเทศไทยนั้น นิยมเริ่มเล่นกันในสมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าการแข่งขันหรือการละเล่นไก่ชนนั้นมีมานานำแล้วตั้งแต่สมัยโบราณและยังคงสืบทอดอย่างต่อเนื่องมาจนถึงยุคสมัยปัจจุบัน

การละเล่นไก่ชนนั้น เชื่อว่าได้รับความนิยมและแพร่หลายมาจากประเทศอินเดีย ต่อมาได้ขยายไปสู่ทั่วโลก ซึ่งประเทศในทวีปเอเชียของเรานั้นมีประเทศที่นิยมเลี้ยงไก่ชนกัน ได้แก่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย นั่นเองค่ะ  สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ผู้คนนิยมที่จะนิยมเลี้ยงไก่ชนนั้น คือ ทางภาคกลางและภาคใต้นั่นเอง

ประเภทของการเลี้ยงไก่ชนนั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
  •  เลี้ยงไก่ชนไว้เพื่อการต่อสู้หรือการแข่งขัน เนื่องจากประเทศไทยมีการละเล่นไก่ชนมาแต่โบราณ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้น สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้คนเลี้ยงไก่ชนก็คือ การนำมาใช้ต่อสู้กับไก่ตัวอื่นนั่นเอง ซึ่งการเลี้ยงไก่ชน ต้องได้รับการฝึกฝนการต่อสู้และการดูแลมากกว่าไก่ประเภทอื่น ๆ ด้วยการเลี้ยงไก่ชน นอกจากจะเลี้ยงไว้เพื่อการแข่งขันหรือการต่อสู้แล้ว ยังสามารถนำมาเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามอีกด้วย เนื่องจากไก่ชนนั้นมีลักษณะของร่างกายที่ดูสง่า เช่น บริเวณขาและเท้าที่แข็งแรง สีของขนมีความสวยงาม ขนบริเวณหางใหญ่และหนา เป็นต้น
  • เลี้ยงไก่ชนเพื่อนำไปใช้บริโภค นอกจากจะใช้ในการแข่งขันและต่อสู้แล้ว ชาวบ้านยังนำเอาไก่ชนมาบริโภคอีกด้วย โดยปกติแล้ว เมื่อมีการแข่งขันไก่ชน ก็จะมีผู้แพ้และผู้ชนะ บางครั้งก็มีการนำไก่ตัวที่แพ้ ไปเชือดและนำไปรับประทานอีกด้วย ตามการละเล่นในท้องถิ่น


ข้อควรปฏิบัติในการเลี้ยงไก่ชน มีดังนี้
  • ควรตรวจสภาพร่างกายของไก่ชนเสมอ การเลี้ยงไก่ชนเพื่อการแข่ง ก็เปรียบไก่ชนเป็นเหมือนนักกีฬาคนหนึ่ง หากถึงวันแข่งแล้วสภาพร่างกายไม่พร้อม เจ็บป่วย ได้รับการฝึกฝนไม่เพียงพอ ก็จะทำให้แพ้การแข่งขันครั้งนั้นได้ ไก่ชนก็เช่นกัน การตรวจสภาพร่างกายไก่ชนว่ากำลังบาดเจ็บอยู่หรือไม่ ไม่สบายอยู่หรือเปล่า หากนำไก่ที่สภาพร่างกายไม่ดี ก็จะทำให้เสียเชิงและเสียเปรียบคู่ต่อสู้ได้
  • ศึกษาขั้นตอนในการเลี้ยงไก่และชนไก่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากวิธีการเลี้ยงและฝึกหัดให้ไก่ชนมีร่างกายแข็งแรงพร้อมต่อสู้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คุณควรเตรียมตัวให้พร้อม ศึกษาวิธีการที่จะทำอย่างไรให้ไก่ชนมีสุขภาพดี ซึ่งมีพื้นฐานตั้งแต่การเลี้ยง การให้อาหาร การฝึกฝน นั่นเอง
  • การรักษาอาการบาดเจ็บจากการต่อสู้ นอกจากการศึกษาวิธีการเลี้ยงดูแล้ว คุณควรปรึกษาเภสัชกรในเรื่องของยาที่ใช้ในการรักษาและฟื้นฟูแผลและการบาดเจ็บจากการต่อสู้ คุณต้องตรวจสอบร่างกายของไก่ชนทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการต่อสู้
  • กลุ่มยาที่มักจะใช้ เช่น เพนนิซิลิน  เต็ดตร้าไซคลิน เป็นต้น ควรใช้เมื่อไก่ชนมีอาการบาดเจ็บที่หนักและมากพอสมควร

ลักษณะที่ดีของไก่ชน
ลักษณะที่ดีของไก่ชนนั้นนอกจากจะมีความงามและความแข็งแรงแล้ว ควรสังเกตอวัยวะที่เป็นจุดเด่นในการโจมตีคู่ต่อสู้ หากทราบลักษณะเด่นของไก่ ก็ยิ่งมีโอกาสในการเอาชนะมากยิ่งขึ้น อวัยวะที่เป็นจุดเด่นในการโจมตี มีดังนี้
  • การสังเกตจำนวนเกล็ดบริเวณนิ้วเท้า โดยแบ่งเป็น “ก้อย 5 หน้า 21” และ “ก้อย 5 หน้า 16” ดังนี้   “ก้อย 5 หน้า 21” คือ ไก่ชนที่มีจำนวนเกล็ดที่นิ้วก้อยอยู่ 5 เกล็ด และมีจำนวนเกล็ดบริเวณนิ้วกลาง 21 เกล็ด “ก้อย 5 หน้า 16” คือ ไก่ชนที่มีจำนวนเกล็ดที่นิ้วก้อยอยู่ 5 เกล็ด และมีจำนวนเกล็ดบริเวณนิ้วกลาง 16 เกล็ด
  • ซึ่งไก่ที่มีลักษณะและจำนวนเกล็ดตรงตามจำนวนที่กล่าวไว้ เป็นไก่ชนที่น่าเกรงขามของคู่ต่อสู้ เนื่องจากตีเจ็บ และเข้าโจมตีคู่ต่อสู้ได้ง่ายมาก เรียกได้ว่าเป็นลักษณะของ “ไก่งามตามตำรา” นั่นเองค่ะ
  •  บริเวณแข้งของไก่ชน  ลักษณะแข้งของไก่ชน แบ่งได้ 2 แบบ คือ แข้งกลมและแข้งเหลี่ยม  ไก่ชนที่มีแข้งกลมนั้น  เป็นลักษณะแข้งที่สวย เกล็ดของแข้งเรียงตัวดี ไก่ชนที่มีแข้งเหลี่ยมนั้น เกิดจากเกล็ดของแข้งยกตัวขึ้นจนเป็นรูปเหลี่ยมนั่นเอง

การเลี้ยงไก่ชน ผู้เลี้ยงต้องศึกษาข้อมูล วิธีการเลี้ยง วิธีการแข่ง และวิธีการรักษาอย่างแน่ชัดเสียก่อน จึงนำไก่ชนลงแข่ง เพื่อให้ไก่มีสภาพพร้อมต่อการแข่งขัน และเพื่อให้การแข่งขันสนุกสนานมากขึ้นนั่นเองค่ะ

2 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
    คำตอบ

    1. เนื้อหาของบทความดีมากเกี่ยวกับประสบการณ์การเลี้ยงไก่ชนพื้นเมืองในประเทศไทยและการเปิดเผยเกี่ยวกับไก่ชน ขณะนี้ฉันกำลังสมัครที่ dagatructiepcampuchia และเห็นผลลัพธ์ที่ดี

      ลบ